วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ย
ในระยะแรกของการปลูกจะเป็นระยะที่ต้นกุหลาบเจริญเติบโตสร้างใบ และกิ่ง ควรใส่ปุ๋ยเคมีที่มีสูตรตัวแรกคือไนโตรเจนสูง โดยใส่ทุก 15 หรือ 30 วัน อัตราการใส่ 1 กำ มือต่อต้น ก่อนใส่ปุ๋ยควรมีการพรวนดินตื้นๆ อย่าให้กระทบรากมากนัก แล้วโรยปุ๋ยให้รอบๆ ต้นห่างจากโคนต้น 4-6 นิ้ว แล้วแต่ขนาดของทรงพุ่ม จากนั้นก็รดนํ้าตามให้ซุ่ม (แต่อย่ารดนํ้าจนโชก) เมื่อกุหลาบเริ่มให้ดอก ควรใช้ปุ๋ยเคมีที่มีฟอสฟอรัสและโปแตสเซี่ยมสูงควบคู่กันไป เพื่อเร่งการออกดอกและทำ ให้ก้านดอกแข็งแรง นอกจากนี้อาจจะให้ปุ๋ยทางใบ เพิ่มเติมก็จะเป็นการดี ข้อควรระวังในการใส่ปุ๋ย หลังจากปลูกแล้ว คือ ควรโรยปุ๋ยให้กระจายรอบๆ ต้น อย่างสมํ่าเสมออย่าใส่เป็นกระจุกๆ ที่จุดใดจุดหนึ่ง เพราะอาจทำ ให้เกิดความเสียหายต่อต้นกุหลาบได้ เนื่องจากมีความเข้มข้นของปุ๋ยตรงจุดที่ใส่มากเกินไป


การตัดดอกกุหลาบ

การตัดดอกกุหลาบ
การตัดดอกกุหลาบเพื่อปักแจกันหรือจำหน่ายนั้น ควรให้มีกิ่งเหลืออยู่อย่างน้อย 2 กิ่ง เสมอ (กิ่งที่มีใบย่อยครบ 5ใบ) ไม่ควรตัดชิดโคนกิ่ง และเมื่อตัดดอกออกจากต้นแล้วให้รีบแช่ก้านดอกในนํ้าทันทีเพื่อป้องกันการสูญเสียนํ้าจากกิ่ง โดยทั่วไปนิยมตัดดอกในตอนบ่ายและเย็น หรืออาจตัดในตอนเช้าก็ได้ ฉะนั้นการตัดดอกกุหลาบในช่วงที่ยังไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น ถ้าตัดดอกตูมเกินไป ดอกก็จะไม่บานและคอดอกจะโค้งงอง่าย แต่ถ้าตัดดอกที่บานเกินไป ดอกกุหลาบจะบานเร็ว และมีอายุการปักแจกันสั้น




เป็นภาพของคุณ Vorapan Thanomsing



เป็นภาพของคุณ Teo Zento Kitti


การตัดแต่งกิ่ง

การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่ง เป็นสิ่งจำ เป็นสำ หรับการปลูกกุหลาบ ถ้าผู้ปลูกกุหลาบไม่มีการตัดแต่งกิ่งเลยก็จะทำให้ต้นกุหลาบเจริญเติบโตอย่างอิสระ แตกกิ่งก้านมาก เกินไป ทำ ให้ดอกมีขนาดเล็ก ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ดังนั้น เกษตรกรจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ต้นได้รูปทรง พุ่มต้นและโคนต้นโปร่งได้รับแสงแดดมากขึ้น ดอกที่ได้จะมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดี นอกจากนี้การตัดแต่งกิ่งยังช่วยกำ จัดโรคและแมลงที่แอบแฝงอยู่ในพุ่มต้นได้ดีอีกด้วย รวมทั้งสามารถแต่งดินในแปลงปลูกได้สะดวก ทำ ให้กุหลาบที่ได้มีการตัดแต่งกิ่งแล้วเจริญเติบโตดีขึ้น
การตัดแต่งกิ่งกุหลาบสามารถทำ ได้ 2 แบบ คือ
1. การตัดแต่งกิ่งแบบให้เหลือกิ่งไว้กับต้นยาว คือ ตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อย โดยให้เหลือกิ่งที่มีใบสมบูรณ์ไว้มาก เพื่อให้มีอาหารเลี้ยงต้นมาก การตัดแต่งกิ่งมีหลักในการพิจารณาเลือกกิ่งที่จะต้องตัดออก คือ กิ่งที่แห้งตาย กิ่งที่เป็นโรค หรือถูกแมลงทำ ลายกิ่งไขว้ที่เจริญเข้าหาทรงพุ่มกิ่งที่ล้มเอนไม่เป็นระเบียบ ควรจะต้องให้ตาที่อยู่บนสุดของกิ่งหัน
ออกนอกพุ่มต้น เพื่อให้กิ่งที่แตกใหม่หันออกนอกทรงพุ่มด้วยและตัดกิ่งให้เฉียง 45 องศา สำ หรับการตัดแต่งกิ่งแบบให้เหลือกิ่งไว้กับต้นยาวนี้ ใช้ได้กับกุหลาบที่ปลูกจากกิ่งตัดชำ และกิ่งตอน
ภาพ
การตัดแต่งกิ่งแบบให้เหลือกิ่งไว้กับต้นยาว



2. การตัดแต่งกิ่งแบบให้เลือกกิ่งไว้กับต้นสั้น คือ ตัดแต่งกิ่งจนเหลือกิ่งบนต้นสูงจากพื้นดินประมาณ 30-45 เซนติเมตร แล้วเหลือกิ่งไว้ 3-4 กิ่งเท่านั้นการตัดแต่งกิ่งแบบนี้จะตัดแต่งได้เฉพาะต้นกุหลาบที่ปลูกจากต้นติด ตาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าต้นติดตานั้นมีอายุน้อยกว่า 2 ปีให้ตัดแต่งกิ่งแบบแรกแต่ต้องตัดเพิ่มเติมอีก คือ กิ่งแก่ที่ไม่ต้องการและกิ่ง       ชักเกอร์ (กิ่งของต้นตอซึ่งเป็นกุหลาบพันธุ์ป่า) สำ หรับระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการตัดแต่งกิ่ง คือ ต้นฤดูฝน เมื่อตัดแต่งกิ่งให้น้อยลงตามความต้องการแล้วควรใช้ปูนแดงผสมกับยากันรา หรือใช้สีนํ้ามันทาบนรอยแผลที่ตัดเพื่อป้องกันการเน่าลุกลามของเชื้อราจากรอบแผลที่ตัด นอกจากนี้ ควรเก็บกิ่งและใบที่ตัดออก ทำ ความสะอาดแปลงให้เรียบร้อยด้วยแล้วจึงแต่งดินในแปลงปลูก คือ ไถพรวนหน้าดิน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี รวมทั้งใช้วัสดุคลุมแปลงปลูกพร้อมทั้งรดนํ้าให้ชุ่มด้วย จะทำ ให้กุหลาบแตกตาได้เร็วและได้ต้นที่สมบูรณ์
ภาพ

การตัดแต่งกิ่งแบบให้เลือกกิ่งไว้กับต้นสั้น

โรคและแมลงศัตรูกุหลาบ

โรคและแมลงศัตรูกุหลาบ
1. โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุดดำ กลมบนใบ ส่วนใหญ่จะเป็นกับใบแก่จะทำให้ใบเหลืองและร่วงในเวลาต่อมา บางครั้งถ้าเป็นมากอาจ ลุกลามมาที่กิ่งด้วยระบาดมากในฤดูฝนควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ดูปราวิท ไดเทนเอ็ม-45 แคปแทน เบนเสทและเบนโนมิล








2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อรา โรคนี้จะเป็นกับยอดอ่อนและ ดอกอ่อน มีลักษณะเป็นปุยขาวคล้ายแป้งทำ ให้ส่วนของพืชที่เป็นโรคนี้เกิดอาการหงิกงอไม่เจริญเติบโตต่อไป ระบาดมากในฤดูหนาวควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบนเสท ดาโคนิล และคาราแทน

3. โรคหนามดำ เกิดจากเชื้อราโดยเชื้อรานี้จะเข้าทำ ลายแผล ที่เกิดจากรอยตัดหรือเด็ดหนามของกิ่งอ่อนแล้วลุกลามไปเรื่อยๆ ตามกิ่งก้าน ทำ ให้กิ่งก้านเหี่ยวแห้งตายไปในที่สุด ควรป้องกันโดยทาแผลจากรอยตัดด้วยปูนแดง

4. โรคใบจุดสีนํ้าตาลหรือโรคตากบ เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุดกลมสีนํ้าตาลขนาด1/4 นิ้ว แล้วจะเปลี่ยนเป็นวงกลมสีเทามีขอบสีม่วง-แดง ระบาดมากในฤดูฝน ควรป้องกันโดยใช้สารเคมีเบนเสทไดเทนหรือแบนแซดดี

5. โรคไวรัส เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะอาการจะปรากฎให้เห็นที่ใบ โดยใบจะด่างเหลือ เมื่อพบว่าต้นกุหลาบเป็นโรคนี้ให้ถอนและเผาทำลายเสีย

หนอนและแมลงชนิดต่างๆ

1. หนอนเจาะดอก เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กซึ่งจะวางไข่อยู่ที่กลีบดอกด้านนอก เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวจะกัดกินดอกและอาศัยอยู่ในดอก ระบาดมากช่วงที่กุหลาบให้ดอกดก หรือในช่วงฤดูหนาว ควรป้องกันโดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่น ดิลดริน ฟอสดริน

2. หนอนกินใบ เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน มักวางไข่อยู่ใต้ใบ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนก็จะทำลายใบที่อาศัย บางชนิดทำ ลายเฉพาะผิวเนื้อใต้ใบทำให้ใบมีลักษณะโปร่งใสมองเห็นได้ชัดเจน สารเคมีที่ใช้ได้ผลดีเช่น เอนดริน

3. หนอนเจาะต้น เป็นหนอนของผึ้งบางชนิดและหนอนของแมลงวันบางชนิด อาจจะเป็นหนอนของพวกต่อแตนด้วย หนอนชนิดนี้จะเจาะกินไส้กลาง และบริเวณท่อนํ้าของกิ่งหรือต้น ทำ ให้กิ่งและต้นแห้งตายควรป้องกันกำจัด โดยการตรวจดูบริเวณรอยต่อระหว่างกิ่งแห้งและกิ่งดี หากพบตัวหนอนก็ทำลายเสีย หรือป้องกันโดยการตัดแต่งกิ่งตามกำหนด

4. แมลงปีกแข็ง บางทีเรียกด้วงปีกแข็ง มีทั้งชนิดตัวสีดำ และสีนํ้าตาล ขนาดประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ออกหากินในเวลากลางคืนระหว่าง 1-3 ทุ่ม โดยการกัดกินใบกุหลาบ ส่วนในเวลากลางวันจะซ่อนตัวอยู่ตามกอหญ้า ป้องกัน โดยใช้สารเคมี เช่น คลอเดน หรือ เซพวิน

5. ผึ้งกัดใบ จะกัดกินใบกุหลาบในช่วงเวลากลางวัน สังเกตได้ที่รอยแผลมักจะเป็นรอยเหมือนถูกเฉือนด้วยมีดคมๆ เป็นรูปโค้งป้องกันได้เช่นเดียวกับแมลงปีกแข็ง

6. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากดูด มีสีนํ้าตาลดำ ตัวอ่อนสีขาวนวลจะดูดกินนํ้าเลี้ยงจากใบและดอกทำให้ดอกที่ถูกทำ ลายไม่บาน ระบาดมากในฤดูร้อนป้องกันโดยการฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น โตกุไทออนคลอเดนหรือนิโคตินซัลเฟต

7. เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงปากดูดมักเกาะกินตามใบอ่อนหรือง่ามใบ ทำ ให้ใบหงิกงอ ควรป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมีกำ จัดแต่ต้องผสมสารเคลือบใบลงไป ด้วยเพราะบนตัวเพลี้ยแป้งจะมีขนปุยสีขาวปกคลุม ซึ่งมีลักษณะเป็นมันจับนํ้าได้ยาก

8. เพลี้ยหอย เป็นแมลงปากดูด มักเกาะทำ ลายโดยดูดนํ้าเลี้ยงจากลำ ต้น จะสังเกตเป็นเป็นจุดสีนํ้าตาลอยู่บนกิ่งของกุหลาบเพลี้ยหอยนี้มีลักษณะพิเศษ คือ ตัวของมันจะมีเปลือกหุ้มหนาทำ ให้แมลงซึมเข้าถึงตัวได้ยาก ฉะนั้นวิธีกำจัดที่ได้ผลดีก็คือ ใช้นํ้ามันทาหรือฉีดพ่นเคลือบตัวมันไว้ ทำ ให้เพลี้ยไม่มีทางหายใจ และตายในที่สุด แต่เมื่อเพลี้ยตายแล้วจะไม่หลุดจากลำ ต้นจะยังติดอยู่ที่เดิม

9. เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูด ทำลายพืชตรงบริเวณส่วนที่เป็นยอดอ่อนและใบอ่อน ทำ ให้ใบเหลือง
และร่วงหล่น ควรป้องกันกำ จัดโดยใช้สารเคมี เช่น ฟอสดริน เอนดริน และพาราไธออน เป็นต้น

10. แมงมุมแดง เป็นแมงชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่แมลง ตัวมีขนาดเล็กมากเห็นเพียงจุดสีแดงอยู่ตามใต้ใบโดยจะเกาะและดูดนํ้าเลี้ยงจากใบที่ถูกทำ ลายนั้นปรากฏเป็นจุดสีเหลืองซึ่งมองเห็นได้บนหลังใบ สำหรับสารเคมีที่ใช้กำจัดได้ผลคือ           เคลเทน

สรุป
กุหลาบเป็นไม้ที่ความอ่อนแอและเป็นที่ชื่นชอบของแมลงและศัตรูพืชรบกวน ดังนั้นการดูแลใกล้ชิดจะสามารถดูแลวบคุมป้องกันโรคได้ดีจะทำให้เรามีกุหลาบสวยไว้ชื่นชม เพราะเมื่อกุหลาบถูกทำลายโดยแมลงหรือศัตรูพืชจะทำลักษณะภายนอกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสมสวยงามและไม่สามารถคืนภาพได้ ต้องแก้ไข้โดยการตัดส่วนที่ถูกทำลายออกหรือต้องรอให้มีการเจริญของส่วนยอดขึ้นมาใหม่ครับ




วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2555

English Rose Society
กุหลาบอังกฤษ

กุหลาบพุ่ม หรือซรับโรส (Shrub หรือ S.)

กุหลาบพุ่ม หรือซรับโรส (Shrub  หรือ S.)  ได้แก่กุหลาบพันธุ์ป่าหรือลูกผสมของพันธุ์ป่า ซึ่งมี
ทรงต้นเป็นพุ่ม ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กส่วนมากมีกลีบชั้นเดียว




เป็นภาพของคุณ Vorapan Thanomsing

ประเภทแรมเบลอร์ (Rambler  หรือ R)  มีลําต้นยาวและอ่อนโค้งออกดอกเป็นพวง และดอกมี
ขนาดเล็ก
เป็นภาพของ Poui Sayamol