วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

โรคและแมลงศัตรูกุหลาบ

โรคและแมลงศัตรูกุหลาบ
1. โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุดดำ กลมบนใบ ส่วนใหญ่จะเป็นกับใบแก่จะทำให้ใบเหลืองและร่วงในเวลาต่อมา บางครั้งถ้าเป็นมากอาจ ลุกลามมาที่กิ่งด้วยระบาดมากในฤดูฝนควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ดูปราวิท ไดเทนเอ็ม-45 แคปแทน เบนเสทและเบนโนมิล








2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อรา โรคนี้จะเป็นกับยอดอ่อนและ ดอกอ่อน มีลักษณะเป็นปุยขาวคล้ายแป้งทำ ให้ส่วนของพืชที่เป็นโรคนี้เกิดอาการหงิกงอไม่เจริญเติบโตต่อไป ระบาดมากในฤดูหนาวควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบนเสท ดาโคนิล และคาราแทน

3. โรคหนามดำ เกิดจากเชื้อราโดยเชื้อรานี้จะเข้าทำ ลายแผล ที่เกิดจากรอยตัดหรือเด็ดหนามของกิ่งอ่อนแล้วลุกลามไปเรื่อยๆ ตามกิ่งก้าน ทำ ให้กิ่งก้านเหี่ยวแห้งตายไปในที่สุด ควรป้องกันโดยทาแผลจากรอยตัดด้วยปูนแดง

4. โรคใบจุดสีนํ้าตาลหรือโรคตากบ เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุดกลมสีนํ้าตาลขนาด1/4 นิ้ว แล้วจะเปลี่ยนเป็นวงกลมสีเทามีขอบสีม่วง-แดง ระบาดมากในฤดูฝน ควรป้องกันโดยใช้สารเคมีเบนเสทไดเทนหรือแบนแซดดี

5. โรคไวรัส เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะอาการจะปรากฎให้เห็นที่ใบ โดยใบจะด่างเหลือ เมื่อพบว่าต้นกุหลาบเป็นโรคนี้ให้ถอนและเผาทำลายเสีย

หนอนและแมลงชนิดต่างๆ

1. หนอนเจาะดอก เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กซึ่งจะวางไข่อยู่ที่กลีบดอกด้านนอก เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวจะกัดกินดอกและอาศัยอยู่ในดอก ระบาดมากช่วงที่กุหลาบให้ดอกดก หรือในช่วงฤดูหนาว ควรป้องกันโดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่น ดิลดริน ฟอสดริน

2. หนอนกินใบ เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน มักวางไข่อยู่ใต้ใบ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนก็จะทำลายใบที่อาศัย บางชนิดทำ ลายเฉพาะผิวเนื้อใต้ใบทำให้ใบมีลักษณะโปร่งใสมองเห็นได้ชัดเจน สารเคมีที่ใช้ได้ผลดีเช่น เอนดริน

3. หนอนเจาะต้น เป็นหนอนของผึ้งบางชนิดและหนอนของแมลงวันบางชนิด อาจจะเป็นหนอนของพวกต่อแตนด้วย หนอนชนิดนี้จะเจาะกินไส้กลาง และบริเวณท่อนํ้าของกิ่งหรือต้น ทำ ให้กิ่งและต้นแห้งตายควรป้องกันกำจัด โดยการตรวจดูบริเวณรอยต่อระหว่างกิ่งแห้งและกิ่งดี หากพบตัวหนอนก็ทำลายเสีย หรือป้องกันโดยการตัดแต่งกิ่งตามกำหนด

4. แมลงปีกแข็ง บางทีเรียกด้วงปีกแข็ง มีทั้งชนิดตัวสีดำ และสีนํ้าตาล ขนาดประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ออกหากินในเวลากลางคืนระหว่าง 1-3 ทุ่ม โดยการกัดกินใบกุหลาบ ส่วนในเวลากลางวันจะซ่อนตัวอยู่ตามกอหญ้า ป้องกัน โดยใช้สารเคมี เช่น คลอเดน หรือ เซพวิน

5. ผึ้งกัดใบ จะกัดกินใบกุหลาบในช่วงเวลากลางวัน สังเกตได้ที่รอยแผลมักจะเป็นรอยเหมือนถูกเฉือนด้วยมีดคมๆ เป็นรูปโค้งป้องกันได้เช่นเดียวกับแมลงปีกแข็ง

6. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากดูด มีสีนํ้าตาลดำ ตัวอ่อนสีขาวนวลจะดูดกินนํ้าเลี้ยงจากใบและดอกทำให้ดอกที่ถูกทำ ลายไม่บาน ระบาดมากในฤดูร้อนป้องกันโดยการฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น โตกุไทออนคลอเดนหรือนิโคตินซัลเฟต

7. เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงปากดูดมักเกาะกินตามใบอ่อนหรือง่ามใบ ทำ ให้ใบหงิกงอ ควรป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมีกำ จัดแต่ต้องผสมสารเคลือบใบลงไป ด้วยเพราะบนตัวเพลี้ยแป้งจะมีขนปุยสีขาวปกคลุม ซึ่งมีลักษณะเป็นมันจับนํ้าได้ยาก

8. เพลี้ยหอย เป็นแมลงปากดูด มักเกาะทำ ลายโดยดูดนํ้าเลี้ยงจากลำ ต้น จะสังเกตเป็นเป็นจุดสีนํ้าตาลอยู่บนกิ่งของกุหลาบเพลี้ยหอยนี้มีลักษณะพิเศษ คือ ตัวของมันจะมีเปลือกหุ้มหนาทำ ให้แมลงซึมเข้าถึงตัวได้ยาก ฉะนั้นวิธีกำจัดที่ได้ผลดีก็คือ ใช้นํ้ามันทาหรือฉีดพ่นเคลือบตัวมันไว้ ทำ ให้เพลี้ยไม่มีทางหายใจ และตายในที่สุด แต่เมื่อเพลี้ยตายแล้วจะไม่หลุดจากลำ ต้นจะยังติดอยู่ที่เดิม

9. เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูด ทำลายพืชตรงบริเวณส่วนที่เป็นยอดอ่อนและใบอ่อน ทำ ให้ใบเหลือง
และร่วงหล่น ควรป้องกันกำ จัดโดยใช้สารเคมี เช่น ฟอสดริน เอนดริน และพาราไธออน เป็นต้น

10. แมงมุมแดง เป็นแมงชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่แมลง ตัวมีขนาดเล็กมากเห็นเพียงจุดสีแดงอยู่ตามใต้ใบโดยจะเกาะและดูดนํ้าเลี้ยงจากใบที่ถูกทำ ลายนั้นปรากฏเป็นจุดสีเหลืองซึ่งมองเห็นได้บนหลังใบ สำหรับสารเคมีที่ใช้กำจัดได้ผลคือ           เคลเทน

สรุป
กุหลาบเป็นไม้ที่ความอ่อนแอและเป็นที่ชื่นชอบของแมลงและศัตรูพืชรบกวน ดังนั้นการดูแลใกล้ชิดจะสามารถดูแลวบคุมป้องกันโรคได้ดีจะทำให้เรามีกุหลาบสวยไว้ชื่นชม เพราะเมื่อกุหลาบถูกทำลายโดยแมลงหรือศัตรูพืชจะทำลักษณะภายนอกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสมสวยงามและไม่สามารถคืนภาพได้ ต้องแก้ไข้โดยการตัดส่วนที่ถูกทำลายออกหรือต้องรอให้มีการเจริญของส่วนยอดขึ้นมาใหม่ครับ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น