วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ย
ในระยะแรกของการปลูกจะเป็นระยะที่ต้นกุหลาบเจริญเติบโตสร้างใบ และกิ่ง ควรใส่ปุ๋ยเคมีที่มีสูตรตัวแรกคือไนโตรเจนสูง โดยใส่ทุก 15 หรือ 30 วัน อัตราการใส่ 1 กำ มือต่อต้น ก่อนใส่ปุ๋ยควรมีการพรวนดินตื้นๆ อย่าให้กระทบรากมากนัก แล้วโรยปุ๋ยให้รอบๆ ต้นห่างจากโคนต้น 4-6 นิ้ว แล้วแต่ขนาดของทรงพุ่ม จากนั้นก็รดนํ้าตามให้ซุ่ม (แต่อย่ารดนํ้าจนโชก) เมื่อกุหลาบเริ่มให้ดอก ควรใช้ปุ๋ยเคมีที่มีฟอสฟอรัสและโปแตสเซี่ยมสูงควบคู่กันไป เพื่อเร่งการออกดอกและทำ ให้ก้านดอกแข็งแรง นอกจากนี้อาจจะให้ปุ๋ยทางใบ เพิ่มเติมก็จะเป็นการดี ข้อควรระวังในการใส่ปุ๋ย หลังจากปลูกแล้ว คือ ควรโรยปุ๋ยให้กระจายรอบๆ ต้น อย่างสมํ่าเสมออย่าใส่เป็นกระจุกๆ ที่จุดใดจุดหนึ่ง เพราะอาจทำ ให้เกิดความเสียหายต่อต้นกุหลาบได้ เนื่องจากมีความเข้มข้นของปุ๋ยตรงจุดที่ใส่มากเกินไป


การตัดดอกกุหลาบ

การตัดดอกกุหลาบ
การตัดดอกกุหลาบเพื่อปักแจกันหรือจำหน่ายนั้น ควรให้มีกิ่งเหลืออยู่อย่างน้อย 2 กิ่ง เสมอ (กิ่งที่มีใบย่อยครบ 5ใบ) ไม่ควรตัดชิดโคนกิ่ง และเมื่อตัดดอกออกจากต้นแล้วให้รีบแช่ก้านดอกในนํ้าทันทีเพื่อป้องกันการสูญเสียนํ้าจากกิ่ง โดยทั่วไปนิยมตัดดอกในตอนบ่ายและเย็น หรืออาจตัดในตอนเช้าก็ได้ ฉะนั้นการตัดดอกกุหลาบในช่วงที่ยังไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น ถ้าตัดดอกตูมเกินไป ดอกก็จะไม่บานและคอดอกจะโค้งงอง่าย แต่ถ้าตัดดอกที่บานเกินไป ดอกกุหลาบจะบานเร็ว และมีอายุการปักแจกันสั้น




เป็นภาพของคุณ Vorapan Thanomsing



เป็นภาพของคุณ Teo Zento Kitti


การตัดแต่งกิ่ง

การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่ง เป็นสิ่งจำ เป็นสำ หรับการปลูกกุหลาบ ถ้าผู้ปลูกกุหลาบไม่มีการตัดแต่งกิ่งเลยก็จะทำให้ต้นกุหลาบเจริญเติบโตอย่างอิสระ แตกกิ่งก้านมาก เกินไป ทำ ให้ดอกมีขนาดเล็ก ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ดังนั้น เกษตรกรจึงควรมีการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ต้นได้รูปทรง พุ่มต้นและโคนต้นโปร่งได้รับแสงแดดมากขึ้น ดอกที่ได้จะมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดี นอกจากนี้การตัดแต่งกิ่งยังช่วยกำ จัดโรคและแมลงที่แอบแฝงอยู่ในพุ่มต้นได้ดีอีกด้วย รวมทั้งสามารถแต่งดินในแปลงปลูกได้สะดวก ทำ ให้กุหลาบที่ได้มีการตัดแต่งกิ่งแล้วเจริญเติบโตดีขึ้น
การตัดแต่งกิ่งกุหลาบสามารถทำ ได้ 2 แบบ คือ
1. การตัดแต่งกิ่งแบบให้เหลือกิ่งไว้กับต้นยาว คือ ตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อย โดยให้เหลือกิ่งที่มีใบสมบูรณ์ไว้มาก เพื่อให้มีอาหารเลี้ยงต้นมาก การตัดแต่งกิ่งมีหลักในการพิจารณาเลือกกิ่งที่จะต้องตัดออก คือ กิ่งที่แห้งตาย กิ่งที่เป็นโรค หรือถูกแมลงทำ ลายกิ่งไขว้ที่เจริญเข้าหาทรงพุ่มกิ่งที่ล้มเอนไม่เป็นระเบียบ ควรจะต้องให้ตาที่อยู่บนสุดของกิ่งหัน
ออกนอกพุ่มต้น เพื่อให้กิ่งที่แตกใหม่หันออกนอกทรงพุ่มด้วยและตัดกิ่งให้เฉียง 45 องศา สำ หรับการตัดแต่งกิ่งแบบให้เหลือกิ่งไว้กับต้นยาวนี้ ใช้ได้กับกุหลาบที่ปลูกจากกิ่งตัดชำ และกิ่งตอน
ภาพ
การตัดแต่งกิ่งแบบให้เหลือกิ่งไว้กับต้นยาว



2. การตัดแต่งกิ่งแบบให้เลือกกิ่งไว้กับต้นสั้น คือ ตัดแต่งกิ่งจนเหลือกิ่งบนต้นสูงจากพื้นดินประมาณ 30-45 เซนติเมตร แล้วเหลือกิ่งไว้ 3-4 กิ่งเท่านั้นการตัดแต่งกิ่งแบบนี้จะตัดแต่งได้เฉพาะต้นกุหลาบที่ปลูกจากต้นติด ตาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าต้นติดตานั้นมีอายุน้อยกว่า 2 ปีให้ตัดแต่งกิ่งแบบแรกแต่ต้องตัดเพิ่มเติมอีก คือ กิ่งแก่ที่ไม่ต้องการและกิ่ง       ชักเกอร์ (กิ่งของต้นตอซึ่งเป็นกุหลาบพันธุ์ป่า) สำ หรับระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการตัดแต่งกิ่ง คือ ต้นฤดูฝน เมื่อตัดแต่งกิ่งให้น้อยลงตามความต้องการแล้วควรใช้ปูนแดงผสมกับยากันรา หรือใช้สีนํ้ามันทาบนรอยแผลที่ตัดเพื่อป้องกันการเน่าลุกลามของเชื้อราจากรอบแผลที่ตัด นอกจากนี้ ควรเก็บกิ่งและใบที่ตัดออก ทำ ความสะอาดแปลงให้เรียบร้อยด้วยแล้วจึงแต่งดินในแปลงปลูก คือ ไถพรวนหน้าดิน ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี รวมทั้งใช้วัสดุคลุมแปลงปลูกพร้อมทั้งรดนํ้าให้ชุ่มด้วย จะทำ ให้กุหลาบแตกตาได้เร็วและได้ต้นที่สมบูรณ์
ภาพ

การตัดแต่งกิ่งแบบให้เลือกกิ่งไว้กับต้นสั้น

โรคและแมลงศัตรูกุหลาบ

โรคและแมลงศัตรูกุหลาบ
1. โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุดดำ กลมบนใบ ส่วนใหญ่จะเป็นกับใบแก่จะทำให้ใบเหลืองและร่วงในเวลาต่อมา บางครั้งถ้าเป็นมากอาจ ลุกลามมาที่กิ่งด้วยระบาดมากในฤดูฝนควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น ดูปราวิท ไดเทนเอ็ม-45 แคปแทน เบนเสทและเบนโนมิล








2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อรา โรคนี้จะเป็นกับยอดอ่อนและ ดอกอ่อน มีลักษณะเป็นปุยขาวคล้ายแป้งทำ ให้ส่วนของพืชที่เป็นโรคนี้เกิดอาการหงิกงอไม่เจริญเติบโตต่อไป ระบาดมากในฤดูหนาวควรป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น เบนเสท ดาโคนิล และคาราแทน

3. โรคหนามดำ เกิดจากเชื้อราโดยเชื้อรานี้จะเข้าทำ ลายแผล ที่เกิดจากรอยตัดหรือเด็ดหนามของกิ่งอ่อนแล้วลุกลามไปเรื่อยๆ ตามกิ่งก้าน ทำ ให้กิ่งก้านเหี่ยวแห้งตายไปในที่สุด ควรป้องกันโดยทาแผลจากรอยตัดด้วยปูนแดง

4. โรคใบจุดสีนํ้าตาลหรือโรคตากบ เกิดจากเชื้อรา มีลักษณะอาการเป็นจุดกลมสีนํ้าตาลขนาด1/4 นิ้ว แล้วจะเปลี่ยนเป็นวงกลมสีเทามีขอบสีม่วง-แดง ระบาดมากในฤดูฝน ควรป้องกันโดยใช้สารเคมีเบนเสทไดเทนหรือแบนแซดดี

5. โรคไวรัส เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะอาการจะปรากฎให้เห็นที่ใบ โดยใบจะด่างเหลือ เมื่อพบว่าต้นกุหลาบเป็นโรคนี้ให้ถอนและเผาทำลายเสีย

หนอนและแมลงชนิดต่างๆ

1. หนอนเจาะดอก เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กซึ่งจะวางไข่อยู่ที่กลีบดอกด้านนอก เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวจะกัดกินดอกและอาศัยอยู่ในดอก ระบาดมากช่วงที่กุหลาบให้ดอกดก หรือในช่วงฤดูหนาว ควรป้องกันโดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่น ดิลดริน ฟอสดริน

2. หนอนกินใบ เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน มักวางไข่อยู่ใต้ใบ เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนก็จะทำลายใบที่อาศัย บางชนิดทำ ลายเฉพาะผิวเนื้อใต้ใบทำให้ใบมีลักษณะโปร่งใสมองเห็นได้ชัดเจน สารเคมีที่ใช้ได้ผลดีเช่น เอนดริน

3. หนอนเจาะต้น เป็นหนอนของผึ้งบางชนิดและหนอนของแมลงวันบางชนิด อาจจะเป็นหนอนของพวกต่อแตนด้วย หนอนชนิดนี้จะเจาะกินไส้กลาง และบริเวณท่อนํ้าของกิ่งหรือต้น ทำ ให้กิ่งและต้นแห้งตายควรป้องกันกำจัด โดยการตรวจดูบริเวณรอยต่อระหว่างกิ่งแห้งและกิ่งดี หากพบตัวหนอนก็ทำลายเสีย หรือป้องกันโดยการตัดแต่งกิ่งตามกำหนด

4. แมลงปีกแข็ง บางทีเรียกด้วงปีกแข็ง มีทั้งชนิดตัวสีดำ และสีนํ้าตาล ขนาดประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ออกหากินในเวลากลางคืนระหว่าง 1-3 ทุ่ม โดยการกัดกินใบกุหลาบ ส่วนในเวลากลางวันจะซ่อนตัวอยู่ตามกอหญ้า ป้องกัน โดยใช้สารเคมี เช่น คลอเดน หรือ เซพวิน

5. ผึ้งกัดใบ จะกัดกินใบกุหลาบในช่วงเวลากลางวัน สังเกตได้ที่รอยแผลมักจะเป็นรอยเหมือนถูกเฉือนด้วยมีดคมๆ เป็นรูปโค้งป้องกันได้เช่นเดียวกับแมลงปีกแข็ง

6. เพลี้ยไฟ เป็นแมลงปากดูด มีสีนํ้าตาลดำ ตัวอ่อนสีขาวนวลจะดูดกินนํ้าเลี้ยงจากใบและดอกทำให้ดอกที่ถูกทำ ลายไม่บาน ระบาดมากในฤดูร้อนป้องกันโดยการฉีดพ่นด้วยสารเคมี เช่น โตกุไทออนคลอเดนหรือนิโคตินซัลเฟต

7. เพลี้ยแป้ง เป็นแมลงปากดูดมักเกาะกินตามใบอ่อนหรือง่ามใบ ทำ ให้ใบหงิกงอ ควรป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมีกำ จัดแต่ต้องผสมสารเคลือบใบลงไป ด้วยเพราะบนตัวเพลี้ยแป้งจะมีขนปุยสีขาวปกคลุม ซึ่งมีลักษณะเป็นมันจับนํ้าได้ยาก

8. เพลี้ยหอย เป็นแมลงปากดูด มักเกาะทำ ลายโดยดูดนํ้าเลี้ยงจากลำ ต้น จะสังเกตเป็นเป็นจุดสีนํ้าตาลอยู่บนกิ่งของกุหลาบเพลี้ยหอยนี้มีลักษณะพิเศษ คือ ตัวของมันจะมีเปลือกหุ้มหนาทำ ให้แมลงซึมเข้าถึงตัวได้ยาก ฉะนั้นวิธีกำจัดที่ได้ผลดีก็คือ ใช้นํ้ามันทาหรือฉีดพ่นเคลือบตัวมันไว้ ทำ ให้เพลี้ยไม่มีทางหายใจ และตายในที่สุด แต่เมื่อเพลี้ยตายแล้วจะไม่หลุดจากลำ ต้นจะยังติดอยู่ที่เดิม

9. เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูด ทำลายพืชตรงบริเวณส่วนที่เป็นยอดอ่อนและใบอ่อน ทำ ให้ใบเหลือง
และร่วงหล่น ควรป้องกันกำ จัดโดยใช้สารเคมี เช่น ฟอสดริน เอนดริน และพาราไธออน เป็นต้น

10. แมงมุมแดง เป็นแมงชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่แมลง ตัวมีขนาดเล็กมากเห็นเพียงจุดสีแดงอยู่ตามใต้ใบโดยจะเกาะและดูดนํ้าเลี้ยงจากใบที่ถูกทำ ลายนั้นปรากฏเป็นจุดสีเหลืองซึ่งมองเห็นได้บนหลังใบ สำหรับสารเคมีที่ใช้กำจัดได้ผลคือ           เคลเทน

สรุป
กุหลาบเป็นไม้ที่ความอ่อนแอและเป็นที่ชื่นชอบของแมลงและศัตรูพืชรบกวน ดังนั้นการดูแลใกล้ชิดจะสามารถดูแลวบคุมป้องกันโรคได้ดีจะทำให้เรามีกุหลาบสวยไว้ชื่นชม เพราะเมื่อกุหลาบถูกทำลายโดยแมลงหรือศัตรูพืชจะทำลักษณะภายนอกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสมสวยงามและไม่สามารถคืนภาพได้ ต้องแก้ไข้โดยการตัดส่วนที่ถูกทำลายออกหรือต้องรอให้มีการเจริญของส่วนยอดขึ้นมาใหม่ครับ